ปฏิกิริยาและการประณามจากนานาชาติ ของ การประท้วงในกัมพูชา พ.ศ. 2556–2557

สหประชาชาติและกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประณามการใช้ความรุนแรง[28][29][30] เอ็ด รอยซ์ สมาชิกสภาคองเกรซเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีฮุน เซ็น ลงจากอำนาจโดยกล่าวว่า "มันเป็นเวลาที่ ฮุน เซ็น สมควรลงจากอำนาจหลังจากที่เขาครองอำนาจเกือบสามทศววษ"[31] นอกจากนี้ชาวกัมพูชาอเมริกันประมาณ 500 คนได้ชุมนุมหน้าทำเนียบขาวเพื่อเรียกร้องความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา พวกเขาได้เรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาปล่อยตัวนักโทษจากการสลายการชุมนุมของตำรวจเมื่อวันที่ 3 มกราคมจำนวน 23 คน[32] สูรยา สุเบดี ทูตด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้เดินทางไปยังกัมพูชาและเข้าพบนายกรัฐมนตรีฮุน เซน[33]

วันที่ 29 มกราคม ผู้นำฝ่ายค้านสม รังสีเดินทางไปที่เจนีวาซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิของรัฐบาลกัมพูชา[34]

สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย เยอรมนี โปแลนด์ ญี่ปุ่นและไทยได้แสดงความกังวลและความกังวลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา[35][36] องค์การสิทธิมนุษยชนสากลเรียกร้องให้สหประชาชาติกดดันรัฐบาลกัมพูชา[37]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การประท้วงในกัมพูชา พ.ศ. 2556–2557 http://www.aljazeera.com/indepth/features/2013/07/... http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2013/07... http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2013/07... http://www.cambodiadaily.com/featured-stories/cnrp... http://www.cambodiadaily.com/news/five-killed-duri... http://www.cambodiadaily.com/news/government-blast... http://www.cambodiadaily.com/news/vietnamese-shop-... http://www.channelnewsasia.com/news/asiapacific/ca... http://www.nytimes.com/2013/07/30/world/asia/cambo... http://www.phnompenhpost.com/national/cnrps-sunday...